“…การที่ประชาชนประสบเคราะห์ร้ายเมื่อใด เคราะห์ร้ายนั้นไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ประสบภัย เคราะห์ร้ายนั้นตกกับประชาชนทั้งประเทศ เพราะว่าถ้าผู้ที่เคราะห์ร้ายโดยตรงไม่ได้รับการช่วยเหลือ ก็ทำให้ความเดือนร้อนนั้นแผ่มาสู่ส่วนอื่นของประเทศด้วย คนในชาติก็เดือนร้อนด้วย การที่จะบรรเทาความเดือนร้อนก็ทำได้อย่างที่ท่านทำ คือ ผู้ที่ยังพอมีกินอยู่ ก็ควรเผื่อแผ่แก่ผู้ที่เดือดร้อนอย่างนี้ด้วยความสามัคคี ด้วยความเมตตา เราจะบรรเทาความ เดือนร้อนส่วนรวมได้ จะนำความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมืองได้ และเป็นกุศลด้วยเพราะว่าไปแผ่เมตตา...”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
พระราชทานแก่คณะกรรมการสมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓
ช่วงปลายปี 2559 ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2560 เกิดปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะเขตพื้นที่สุราษฏร์ธานี พัทลุง สงขลา ตรัง นครศรีธรรมราช และบางส่วนของประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนปกติของภาคใต้ แต่ปัญหาอุทกภัยกลับไม่ใช่เรื่องปกติ ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศของภาคใต้ที่มีภูเขาอยู่ตรงกลางก่อนที่จะเป็นที่ราบลงสู่ทะเลทั้งสองด้าน อีกทั้งระยะทางจากภูเขาลงสู่ทะเลไม่ไกลเป็นหลักร้อยกิโลเมตรแต่อย่างใด การระบายน้ำจึงสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่ราบลุ่มภาคกลาง โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมขังจึงมีน้อยกว่า แต่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น และน้ำท่วมก็เกิดขึ้นในฤดูฝนนี้ โดยเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ หลายระลอก เฉพาะในพื้นที่นครศรีธรรมราช เกิดภาวะน้ำท่วมไม่ต่ำกว่า 3 ระลอก สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง การให้ความช่วยเหลือในช่วงที่ประสบอุทุกภัยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ปัญหาที่ตามมาคือ การฟื้นฟูหลังน้ำท่วมต้องดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตร เกษตรกรจะดำรงชีพได้อย่างไร เป็นปัญหาที่ทุกหน่วยงานต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากเกษตรกรไม่มีทางเลือกมากนัก และเป็นโอกาสอันดีเช่นกันที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาสาเหตุและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นอีก เพราะในที่สุดแล้ว ธรรมชาติย่อมยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์เสมอ
ฉีกซอง ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกระบวนการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม เกษตรกรมีทางเลือกและแนวทางในการฟื้นฟูอาชีพของตัวเองอย่างไร โปรดติดตาม
หลังน้ำท่วม ต้องฟื้นฟู
อุทกภัยในครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรในระดับต่างๆ กัน ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างทั้งชนิดพืช อายุพืช ความสมบูรณ์ของพืช ระดับน้ำ และระยะเวลาการท่วมขัง เป็นต้น ในส่วนของความสามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมขังของไม้ผล พิจารณาได้จากชนิดของไม้ผล โดยกลุ่มที่อ่อนแออย่างมาก ซึ่งอาจตายภายหลังจากน้ำท่วมขังเพียง 24 ชั่วโมง ได้แก่ มะละกอ และจำปาดะ เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่อ่อ่อนปานกลาง อาจทนอยู่ได้ระหว่าง 3-5 วัน ได้แก่ กล้วย ส้มเขียวหวาน ทุเรียน มะม่วงกะล่อน มะนาว และขนุน เป็นต้น สำหรับกลุ่มที่ทนทานได้พอสมควร โดยสามารถทนอยู่ได้ระหว่าง 7-15 วัน ได้แก่ ชมพู่ พุทรา ละมุด มะขาม และมะพร้าว ทั้งนี้ สำหรับปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป อาจสามารถทนน้ำขังได้เป็นเดือน หากน้ำยังไม่ท่วมถึงระดับใบ และในสภาพน้ำท่วมที่เป็นน้ำไหล ต้นไม้มีโอกาสได้รับออกซิเจนที่ละลายมาทำให้ระบบรากนำไปใช้ได้ แต่ถ้าหากน้ำที่ท่วมขังเป็นน้ำนิ่ง ออกซิเจนในน้ำมีน้อย โอกาสการอยู่รอดของต้นไม้ก็น้อยลงไปด้วย ขณะเดียวกันหากต้นไม้มีความสมบูรณ์ ยังไม่มีการติดผล ไม่มีการแตกใบอ่อน ต้นไม้จะสามารถทนน้ำขังได้นานขึ้น เพราะยังมีการสะสมอาหารไว้ในลำต้นสูง ไม่ได้ถูกนำไปพัฒนาเป็นผล ซึ่งจะทำให้การสะสมอาหารในลำต้นน้อยลง เมื่อถูกน้ำท่วมขังจึงมีโอกาสตายได้มากกว่า
นอกจากนี้อายุหรือขนาดไม้ผลที่มีขนาดใหญ่และอายุมากจะมีความทนทานต่อน้ำท่วมขังได้มากกว่าต้นไม้ที่มีขนาดเล็กและมีอายุไม่มาก เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่และอายุมากมีระบบรากที่สมบูรณ์และแข็งแรงกว่า ขณะเดียวกัน ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมขัง หากระดับสูงมากจนท่วมกิ่งและใบหรือพุ่มต้นแล้ว โอกาสที่ต้นไม้จะอยู่รอดจะมีต่ำมาก แต่ถ้าระดับน้ำไม่สูงมาก อยู่เพียงระดับเหนือดินเล็กน้อย ต้นไม้ก็มีโอกาสรอดสูง เพราะออกซิเจนสามารถซึมผ่านลงในน้ำ และเข้าไปในระบบรากของพืชได้ง่ายกว่า
สภาพการท่วมขังของน้ำ หากเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ หลังจากน้ำลดแล้วมีน้ำท่วมอีกระลอกใหม่ ความทนทานของต้นไม้ต่อน้ำท่วมขังก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามรอบของน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นไม้ยังไม่ได้ฟื้นตัวดี ยิ่งเมื่ออยู่ในสภาพที่อากาศร้อนจัด ความรุนแรงของความเสียหายจากน้ำท่วมขังจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่หากมีลมพัดแรงในขณะน้ำท่วม จะส่งผลให้ระบบรากมีปัญหาโยกคลอนได้ด้วย
ดังนั้นการจัดการดินและน้ำหลังน้ำท่วมในสวนไม้ผลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกษตรกรควรทำหลังน้ำลด เพราะสภาพน้ำท่วมขังทำให้ดินขาดการระบายอากาศ ส่งผลให้รากขาดออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการหายใจและเป็นที่สะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ อินทรียวัตถุในดิน เศษซากพืชและสัตว์ต่างๆ จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซที่เป็นอันตรายต่อระบบราก รวมทั้งประสิทธิภาพการดูดน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ของระบบรากจะลดลง ทำให้ต้นไม้ขาดน้ำและธาตุอาหารพืช ลำต้นของไม้ผลจะอ่อนแอ ง่ายต่อการที่โรคและแมลงจะเข้าทำลาย ในเบื้องต้นหลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากของพืช ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรม และอาจตายได้ ตลอดจนหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยอาจขุดร่องระบายน้ำให้ไหลออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด ใช้ไม้ยาวค้ำยันไม้หากพบต้นไม้มีสภาพล้มเอน และระมัดระวังไม่ให้เหยียบบริเวณโค่นต้น และให้ดึงเศษพืชและสัตว์ต่างๆ ที่ดินเลนทับถมออกให้หมด เพราะการสลายตัวของเศษพืชที่ฝังดินและน้ำท่วม ทำให้เกิดความร้อนและก๊าซที่เป็นอันตรายต่อรากพืช
เมื่อดินแห้งควรขุดหรือปาดเอาดินหรือทรายออกจากโคนต้น และควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลให้ทำการปลิดผลออกบ้าง เพื่อช่วยต้นพืชอีกทางหนึ่ง จากนั้นเพื่อให้ไม้ผลตั้งตัวเร็วขึ้น ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12 – 12 - 12 หรือ 12 – 9 – 6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21 – 21 – 21 และ 16 – 21 – 27 ละลายน้ำพ่นให้แก่พืชก็ได้ นอกจากนี้สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม (6 ขีด) ฮิวมิคแอซิด 20 ซีซี (2.5 ช้อนแกง) ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15 – 30 - 15 จำนวน 20 กรัม (1.5 ช้อนแกง) โดยผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ควรเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็นควรพ่น 2 - 3 ครั้ง
นอกจากนี้ควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น สำหรับพืชที่มีปัญหาของโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้ว หากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืช หรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล หรือ ฟอสเอทิล- อลูมินั่ม (อาลิเอท) (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี) โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้กับอาการรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเที่ยม (Pythium spp.) หรือไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.) ส่วนโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรี่ยม (Fusarium spp.) ไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) หรือสเคลอโรเที่ยม(Sclerotium spp.) ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี หรือ เทอร์ราคลอร์ นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเพียงเล็กน้อย
กรณีไม่ใช้สารเคมี สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาทดแทนได้ โดยเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ยังสามารถผลิตสารปฏิชีวนะ และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคทั้งโรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ) รากเน่า หัวหรือแง่งเน่า และโคนเน่า เป็นต้น โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กิ่ง ผล ใบ หรือดอก เช่น โรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง โรคแคงเกอร์ของมะนาว โรคราดำของมะเขือเทศ โรคใบปื้นเหลืองและโรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนสของมะม่วงและพริกทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่าของพืชผักสลัดและผักกินใบต่างๆที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (ระบบไฮโดรโพนิกส์) และสามารถแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อนใช้หว่านลงในนาข้าว ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ ของข้าวที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด ตลอดจนช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักเมล็ด และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ด้วย
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด สามารถใช้ได้หลายวิธีตามโอกาสและความสะดวกของเกษตรกร เช่น ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ในสัดส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนักสำหรับใส่หลุมปลูก อัตรา 10-20 กรัม (1-2 ช้อนแกง) คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ก่อนการหยอดเมล็ดพืช หรือหว่านลงแปลงปลูก ด้วยอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้ผสมรวมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าโดย ใส่ส่วนผสมของเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ ผสมร่วมกับดินหรือวัสดุปลูกอัตรา 1: 4 โดยปริมาตร (20%) นำดินหรือวัสดุปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุงหรือกระถางปลูกพืช กรณีของการคลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก สามารถใช้เชื้อสดล้วนๆ อัตรา 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี และถ้าต้องการเชื้อสดในรูปน้ำสามารถใช้เชื้อสดผสมน้ำในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ จะได้เชื้อชนิดน้ำสำหรับใช้พ่น ราด รดลงดิน หรือพ่นส่วนบนของต้นพืช หรือใช้ปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช และใช้แช่ส่วนขยายพันธุ์พืช เช่นเมล็ด หัว เหง้า แง่ง ท่อนพันธุ์ ก็ได้
สร้างทางเลือก
หลังจากการฟื้นฟูสภาพของพื้นที่หลังน้ำลดแล้ว นอกจากการบำรุงรักษาไม้ผลให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์อีกครั้งในกรณีที่ยังสามารถฟื้นฟูได้แล้ว กรณีที่เสียหายสิ้นเชิงจะต้องวางแผนการผลิตใหม่ทั้งหมด สามารถทำได้ โดยการปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา หลังจากที่ดินเริ่มแห้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยในตัว และลดการรบกวนดิน ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง คือ การปลูกแบบไม่ไถพรวน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังเปียกชื้นอยู่ และหากยังจะปลูกไม้ผลต่อไป เป็นโอกาสดีที่จะจัดการสวนใหม่ ทั้งวิธีการปลูก และชนิดของไม้ผล ซึ่งสามารถทำได้ ด้วยการปลูกไม้ผลที่ให้ผลผลิตเร็ว เพื่อให้ตอบแทนระยะสั้น ควบคู่ไปกับไม้ผลที่ให้มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนาน ซึ่งเป็นการวางแผนในระยะยาวของเกษตรกรแต่ละราย
สำหรับพื้นที่นา หากข้าวที่ปลูกได้รับความเสียหายเล็กน้อยและอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ให้ระบายน้ำออก ควบคุมระดับน้ำให้เหลือประมาณ 5-10 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยให้ข้าวตามอัตราที่กำหนด เมื่อข้าวอายุ 50 วัน และ 60 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว กรณีข้าวที่ปลูกได้รับความเสียหายมาก ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ระบายน้ำออก ปล่อยให้ดินแห้ง ไถกลบตอซังข้าว เตรียมดินปลูกพืชอายุสั้น เช่น ผักอายุสั้นต่างๆ ได้แก่ ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ข้าวโพดอ่อน ผักบุ้งจีน เป็นต้น ปล่อยดินแห้ง สามารถไถเตรียมดินได้ ไถกลบตอซังใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก 2 ตัน ต่อไร่ คลุกเคล้ากับดิน ตากดินประมาณ 14 วัน คลุกปูนขาว เตรียมดินละเอียด ยกแปลงกว้าง 4-5 เมตร และทำร่องน้ำ กว้าง 50 เซนติเมตร ปรับหน้าแปลงให้เรียบ ปลูกผักชนิดต่างๆ ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำเฉพาะพืช โดยการเพะเมล็ดผักของแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป สำหรับผักบุ้งซึ่งเป็นผักที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ภาย 20-25 วัน ให้นำเมล็ดแช่น้ำไว้ประมาณ 6-12 ชั่วโมง แล้วคัดเอาเฉพาะเมล็ดที่จมไปเพาะ ใช้เวลางอกประมาณ 5-14 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอก อยู่ที่ 18-25 องศาเซลเซียล หากเป็นผักชี ให้นำเมล็ดมาห่อด้วยกระดาษหรือผ้า แล้วใช้ท่อพีวีซีคลึงให้เมล็ดแตกเป็น 2 ซีก แล้วนำไปแช่น้ำอุ่นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือจนกว่าเมล็ดจะจม แล้วนำไปเพาะตามปกติ จะทำให้ผักชีงอกเร็วขึ้น ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน อายุเก็บเกี่ยวของผักชีไทยประมาณ 40-50 วัน ผักชีลาว ประมาณ 55-60 วัน และผักชีฝรั่ง ประมาณ 100-120 วัน ส่วนพืชตระกูลแตงและกลุ่มพริก ให้นำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่นประมาณ 40-50 องศาเซลเซียล โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง นำเมล็ดที่จมมาเพาะในกล่องพลาสติกถนอมอาหาร โดยวางรองด้วยกระดาษชำระ พรมน้ำให้ชุ่ม ปิดฝาให้สนิท นำไปตากแดดในช่วงเช้าประมาณ 2-3 ชั่วโมง จะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น ใช้เวลาในการงอก 4-7 วัน
กรณีปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ ปล่อยดินแห้งแล้วเข้าเตรียมดินโดยไถดะ ไถแปร หรือคราด นำเมล็ดถั่วคลุกเชื้อไรโซเบียมก่อนนำไปปลูก โดยถั่วพร้า ปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 5-8 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม หลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะระหว่างต้น 50-75 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุ 2-3 สัปดาห์ ถอนแยกเหลือหลุมละ 1-2 ต้น พรวนดินกลบโคนต้น ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 3-9-6 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 120-150 วัน ตากเมล็ดไว้ 4-5 วัน นวดเก็บให้มิดชิด เก็บรักษาได้นาน 1-2 ปี สำหรับปอเทือง ปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด ระยะระหว่างต้น 50-75 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุ 2-3 สัปดาห์ ถอนแยกเหลือหลุมละ 1-2 ต้น พรวนดินกลบโคนต้น ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 3-9-6 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 120-150 วัน ตากเมล็ดไว้ 4-5 วัน นวดเก็บให้มิดชิด เก็บรักษาได้นาน 1-2 ปี
นอกจากนี้ กิจกรรมทางการเกษตรที่น่าสนใจ และให้ผลตอบแทนเร็วอีกกิจกรรมหนึ่ง คือ การเพาะเห็ด โดยเฉพาะเห็ดฟาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสูงมากนัก ใช้เวลาประมาณ 7-9 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ เห็ดฟาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Volvariella volvacea เป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย และเรียกชื่อแตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ก็ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่มักเป็นเห็ดสด แต่ก็สามารถพบรูปแบบการบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย
ลักษณะดอกของเห็ดฟาง เมื่อยังอ่อนจะเป็นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน และเมื่อเจริญขึ้นจะปริแตกคงเหลือเยื่อหุ้มรูปถ้วยอยู่ที่โคน ผิวนอกของเยื่อหุ้มส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ หมวกเห็ดรูปไข่ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านยาว 4–10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 เซนติเมตร ผิวสีขาวนวลมีขนสีขาว เนื้อเป็นเส้นหยาบสีขาวรวมกันแน่น ตรงกลางก้านกลวง สปอร์รูปรี สีชมพู ขนาด 5–6 × 7–9 ไมโครเมตร ผิวเรียบ เห็ดฟางตามธรรมชาติเจริญเติบโตบนกองฟางข้าวเป็นกลุ่ม 2–6 ดอก และจะถูกเก็บเกี่ยวในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ คือยังเป็นตุ่มกลม ๆ ก่อนที่หมวกเห็ดจะผุดออกมา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4–5 วัน เจริญได้ผลดีที่สุดในภูมิอากาศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก เห็ดชนิดนี้ไม่เคยปรากฏประวัติการเพาะปลูกมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19
ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมเนื่องจากไม่เปลืองพื้นที่ การจัดการง่าย และให้ผลผลิตสูง วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก ประกอบด้วย เชื้อเห็ดฟาง ต้องเป็นเชื้อที่เส้นใยเริ่มเดินใหม่ๆ สังเกตจากเส้นใยที่เดินจากบนลงล่างจนถึงก้นถุง ยังไม่มีดอกเห็ด ไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟางแห้ง หญ้าแห้งที่มีเนื้อแน่น เช่น หญ้าขน หรือ หญ้าแฝก ต้นปรือตากแห้ง ต้นเตยตากแห้ง ต้นกล้วยตากแห้ง เปลือกถั่วเขียว ต่อมาคือ อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสดหรือแห้ง ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น อาหารกระตุ้นเชื้อเห็ด เช่น แป้งสาลี หรือ แป้งข้าวเหนียว โครงครอบตะกร้า ลักษณะโค้งลง และพลาสติกใสคลุมเพื่อรักษาความชื้นและอุณหภูมิ โดยโครงที่ครอบควรห่างจากขอบตะกร้าด้านข้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร และด้านบนประมาณ 30 เซนติเมตร สำหรับน้ำที่ใช้เพาะเห็ดฟางควรเป็นน้ำสะอาด หากใช้น้ำประปาต้องปล่อยให้คลอรีนระเหยออกไปอย่างน้อย 1 วัน
สำหรับพื้นที่ที่ใช้เพาะเห็ดฟางในตะกร้า ควรปราศจากมด และแมลงต่างๆ โดยอาจพลิกดินตากแห้ง และใช้ปูนขาวโรย ปรับพื้นที่ให้เหมาะกับการวางตะกร้า พื้นซีเมนต์ก็สามารถใช้ได้ แต่พื้นดินมีความเหมาะสมมากกว่าเพราะสามารถเก็บความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้สม่ำเสมอได้ดีกว่า จุดวางตะกร้าเพาะเห็ดสามารถวางไว้กลางแจ้ง หรือ ใต้ร่มไม้ก็ได้ แต่ควรมีการป้องกันลมแรงและสัตว์เลี้ยง
วิธีการเพาะเห็ดในตะกร้า ตะกร้าที่ใช้ควรเป็นตะกร้าที่มีขนาดความกว้างของช่องตั้งแต่ ๑ นิ้วขึ้นไป เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว ความสูงประมาณ 11 นิ้ว ส่วนด้านล่างตะกร้าต้องมีช่องระบายน้ำ ถ้าไม่มีต้องเจาะ อย่างน้อย ๕ รู เพื่อช่วยระบายน้ำ หากเป็นตะกร้าที่เคยใช้เพาะเห็ดมาแล้ว ต้องตากแดดฆ่าเชื้อโรคก่อน หากแดดจัดๆ ตากเพียงด้านละ ๑ ชั่วโมงก็เพียงพอ เมื่อตะกร้าพร้อมแล้วให้ใส่วัสดุเพาะที่เตรียมไว้ (ฟาง หญ้าแห้ง ต้นเตย ต้นปรือ ต้นกล้วยตากแห้ง ฯลฯ) ลงไปในตะกร้าความสูงประมาณ ๒-๓ นิ้ว หรือ ราว ๒ ช่องของตะกร้า กดให้แน่นและสม่ำเสมอ หากกดไม่แน่นพอเห็ดจะออกดอกน้อย เพราะเส้นใยเดินเชื่อมถึงกันลำบาก และฟางจะสูญเสียความชื้นได้ง่าย ในทางกลับกัน ถ้ากดแน่นเกินไป ออกซิเจนไม่เพียงพอ เส้นใยเจริญเติบโตไม่ดี ออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก หลังจากนั้นให้โรยอาหารเสริม ให้ชิดขอบตะกร้า หนาประมาณ 1 นิ้ว ถ้าใช้ผักตบชวาสด ให้ใช้อัตรา ๑ ลิตร ต่อ ๑ ชั้น แต่ถ้าเป็นอาหารเสริมชนิดอื่นให้ปรับสัดส่วนลงมาน้อยกว่าผักตบชวา โดยถ้าเป็นมูลสัตว์ใช้ในอัตราประมาณ ๑ ลิตร ต่อ การเพาะเห็ดฟาง ๑ ตะกร้า หลักการที่สำคัญคือ หากใส่อาหารเสริมมากเกินไป ดอกเห็ดจะเน่าเสียได้ แต่ถ้าใส่น้อยเกิดไป ผลผลิตจะลดลง แต่ไม่มีการเน่าเสีย จากนั้นนำหัวเชื้อเห็ดฟาง ถ้าเป็นชนิดถุงปอนด์ ให้ใช้ในอัตราส่วน ๑ ถุง ต่อ ๒ ตะกร้า ก่อนที่จะใช้ ให้นำหัวเชื้อเห็ดออกมาจากถุง ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ลงในภาชนะ จากนั้นโรยด้วยอาหารกระตุ้นหัวเชื้อเห็ดฟาง (แป้งสาลีหรือแป้งข้าวเหนียว) ประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ เติมน้ำสะอาดลงไปเล็กน้อย คลุกให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเท่ากัน เพื่อใช้สำหรับการเพาะ ๒ ตะกร้า โดยแต่ละส่วน แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนย่อย เนื่องจากแต่ละตะกร้าทำเป็น ๓ ชั้น นำหัวเชื้อเห็ดที่ผสมแล้ว ส่วนย่อยที่ ๑ หยิบเป็นก้อนขนาดประมาณหัวนิ้วมือ วางกดลงเป็นจุดๆ บนอาหารเสริมในบริเวณช่องตะกร้าที่จะให้เกิดดอก ช่องตะกร้าที่ ๒ ทุกช่องจากด้านล่างของตะกร้า ส่วนที่เหลือให้ใส่เป็นจุดๆ บนอาหารเสริม จากนั้นในทำชั้นต่อไปด้วยวิธีการเดียวกัน ความสูงของวัสดุเพาะ จะอยู่ประมาณช่องที่ ๔ ของตะกร้า โดยใช้หัวเชื้อเห็ดที่ผสมแล้ว ส่วนย่อยที่ ๒ ส่วนชั้นสุดท้าย หรือ ชั้นที่ ๓ ก็ทำแบบเดียวกัน แต่การโรยอาหารเสริมให้โรยเต็มพื้นที่ เกลี่ยให้ทั่ว สูงประมาณ ๑ นิ้ว จากนั้นนำหัวเชื้อเห็ดที่ผสมแล้ว ส่วนย่อยที่ ๓ วางตามแบบชั้นที่ ๑ หลังจากนั้น จึงนำวัสดุเพาะมาโรยทับด้านบนอีกทีจนทั่ว ซึ่งจะเหลือความสูงจากปากตะกร้าอีกราว ๓-๔ นิ้ว เมื่อสิ้นสุดการจัดชั้นทั้ง ๓ ชั้น ให้รดน้ำให้ชุ่ม ใช้น้ำประมาณ ๒ ลิตร ต่อ ๑ ตะกร้า หลังจากนั้น ให้นำตะกร้าไว้วาง โดยหนุนให้สูงจากพื้น ๔-๖ นิ้ว เพื่อให้ตะกร้าสัมผัสพื้นโดยตรง สามารถวางตะกร้าเรียงซ้อนทแยงกันได้ แต่ไม่ควรเกิน ๔ ชั้น วางโครงครอบตะกร้าตามระยะห่างที่กำหนด แล้วครอบด้วยพลาสติกใส เพื่อรักษาความชื้นและอุณหภูมิให้พอเหมาะ และใช้วัสดุพรางแสงหากแสงแดดจ้าเกินไป
ในช่วง ๑-๔ วันแรก เป็นช่วงเป็นเส้นใย เห็ดเริ่มใช้อาหารในการเจริญเติบโต การคายคาร์บอนไดออกไซด์ยังไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องมีการระบายคาร์บอนไดออกไซด์ แต่พอเข้าวันที่ ๔ ต้องเริ่มเปิดพลาสติกคลุมด้านล่างเพื่อระบายก๊าซออก ในช่วงเช้าและเย็น ครั้งละประมาณ ๑๕ นาที จนกว่าจะเลิกเก็บผลผลิต อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเห็ด อยู่ประมาณ ๓๘ องศาเซลเซียล ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านั้นให้เปิดวัสดุคลุมด้านบนออกให้เป็นช่องขนาดประมาณ ๓ นิ้ว เพื่อช่วยระบายอากาศออกไปช้าๆ โดยอากาศร้อนมักลอยอยู่ด้านบน จะได้ระบายออกไปได้ แต่ถ้าหากเปิดช่องระบายอากาศกว้างเกินไปจะกระทบต่อการเจริญเติบโตของเห็ด เนื่องจากการลดต่ำลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงตามต้องการก็คลุมพลาสติกไว้ตามปกติ หรือใช้วิธีการคลุมด้วยวัสดุพรางแสงเพิ่มก็ได้ หากไม่สามารถเปิดช่องระบายอากาศ เมื่ออุณหภูมิสูงได้ กรณีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้สังเกตจากปริมาณหยอดน้ำที่คิดอยู่ที่วัสดุคลุม โดยเมื่อคลุมวัสดุครั้งแรก ประมาณ ๓๐ นาที จะเริ่มมีหยดน้ำเกาะที่พลาสติกด้านใน ในช่วงแรกที่เป็นเส้นใยความชื้นสัมพัทธ์ต้องอยู่ในระดับดังกล่าว คือ ความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ ๘๕% กรณีที่มีความชื้นมากเกินไป เช่น หลังฝนตกหนัก ให้เปิดวัสดุคลุมด้านล่างออกเล็กน้อย เช่นเดียวกับการระบายก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ นาที จึงคลุมไว้ดังเดิม
สำหรับการเปิดวัสดุคลุมเพื่อกระตุ้นเส้นใยเห็ดฟาง สามารถทำได้เมื่อเส้นใยเจริญเติบโตเต็มวัสดุเพาะ ประมาณช่วงเย็นของวันที่ ๔ หลังจากการเพาะในฤดูหนาว หรือ วันที่ ๕-๖ สำหรับการเพาะในฤดูร้อน เป็นการกระตุ้นให้เส้นใยเปลี่ยนเป็นดอกเห็ด ด้วยการเปิดวัสดุพรางแสงออก และเปิดพลาสติกคลุมออกทั้งหมดในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่อุณหภูมิต่ำ เป็นเวลา ๓๐ นาที ห้ามเปิดในช่วงกลางวัน เพราะเส้นใยจะฝ่อไม่สามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้ หลังเปิดวันต่อมา เส้นใยจะรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดขนาดเล็ก คล้ายเม็ดผงซักฟอก กระจายบนวัสดุเพาะ ช่วงวันที่ ๕ เป็นต้นไปจะเป็นช่วงที่พัฒนาเป็นดอกเห็ด จะต้องเปิดพลาสติกคลุมด้านล่างในช่วงเช้าและเย็น นานประมาณช่วงละ ๑๕ นาที เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รักษาอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ ๓๔ องศาเซลเซียล ให้สังเกตความชื้นในกระโจมพลาสติกที่คลุม โดยนำบิดฟางดูถ้าแห้งไม่มีน้ำซึมออกมาแสดงว่าแห้งเกินไป ให้รดน้ำรอบๆ พลาสติกที่คลุม และปล่อยให้น้ำซึมผ่าน ระวังไม่ให้น้ำหยดใส่วัสดุเพาะโดยตรง เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฟ่อ หากความชื้นสูงเกินไป การระบายอากาศไม่ดี เส้นใยจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้
ในช่วงวันที่ ๗ จะเป็นช่วงที่ดอกเห็ดเจริญเติบโตพร้อมเก็บ โดยลักษณะดอกเห็ดที่ตลาดต้องการต้องเป็นดอกตูม ด้านโคนเห็ดกว้างด้านหมวกเห็ด อย่างไรก็ตาม หากเพาะรับประทานเอง สามารถเก็บเห็ดที่ระยะขนาดความกว้าของโคนกับหมวกเห็ดเท่ากันก็ได้ สำหรับการเลือกดอกเห็ดที่ออกเป็นกลุ่มขึ้นเป็นกระจุก ทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็กมากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโต หรือให้ดอกส่วนใหญ่ในกลุ่มมีขนาดตามต้องการ ใช้มีดที่มีคมหรือคัตเตอร์ ตัดออกจากวัสดุเพาะได้เลย หลังจากนั้นสามารถเก็บเห็ดได้ต่อไปอีกประมาณ ๑ สัปดาห์ ผลผลิตเห็ดรวม ๑ ตะกร้า ประมาณ ๘-๑๐ กิโลกรัม ขึ้นกับวัสดุเพาะและการดูแล
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยในครั้งนี้ นอกจากได้เห็นน้ำใจของคนไทยด้วยกันแล้ว ยังได้เห็นหัวใจนักสู้ของชาวใต้ เกษตรกรรายหนึ่งเล่าให้ฟังอย่างขำๆ ว่ามันก็เป็นอย่างนี้ทุกปี เสียแต่ว่าปีนี้มาหลายรอบหน่อย เหตุการณ์ครั้งนี้ยังทำให้หลายฝ่ายได้ทบทวนแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งเกษตรกรเองจะได้ทบทวนระบบการผลิตของตนเองว่า ควรจะพัฒนาไปแนวทางใด จึงจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง เพราะแต่ละรายก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ขอเพียงให้มั่นใจได้ว่าภาควิชาการยังคงพร้อมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรของเกษตรกรในทุกๆด้าน
การพึ่งพาตนเองได้ ยืนบนขาของตนเอง คือ ความภาคภูมิใจในอาชีพการเกษตร ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน
(ขอบคุณ: สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร/ ข้อมูล)
หมายเหตุ : ต้นฉบับคอลัมน์ ฉีกซอง ในจดหมายข่าวผลิใบ ก้าวใหม่งานวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2560
เมื่อดินแห้งควรขุดหรือปาดเอาดินหรือทรายออกจากโคนต้น และควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลให้ทำการปลิดผลออกบ้าง เพื่อช่วยต้นพืชอีกทางหนึ่ง จากนั้นเพื่อให้ไม้ผลตั้งตัวเร็วขึ้น ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12 – 12 - 12 หรือ 12 – 9 – 6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21 – 21 – 21 และ 16 – 21 – 27 ละลายน้ำพ่นให้แก่พืชก็ได้ นอกจากนี้สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม (6 ขีด) ฮิวมิคแอซิด 20 ซีซี (2.5 ช้อนแกง) ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15 – 30 - 15 จำนวน 20 กรัม (1.5 ช้อนแกง) โดยผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ควรเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็นควรพ่น 2 - 3 ครั้ง
นอกจากนี้ควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น สำหรับพืชที่มีปัญหาของโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้ว หากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืช หรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล หรือ ฟอสเอทิล- อลูมินั่ม (อาลิเอท) (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี) โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้กับอาการรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเที่ยม (Pythium spp.) หรือไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.) ส่วนโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรี่ยม (Fusarium spp.) ไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) หรือสเคลอโรเที่ยม(Sclerotium spp.) ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี หรือ เทอร์ราคลอร์ นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเพียงเล็กน้อย
กรณีไม่ใช้สารเคมี สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาทดแทนได้ โดยเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ยังสามารถผลิตสารปฏิชีวนะ และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคทั้งโรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ) รากเน่า หัวหรือแง่งเน่า และโคนเน่า เป็นต้น โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กิ่ง ผล ใบ หรือดอก เช่น โรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง โรคแคงเกอร์ของมะนาว โรคราดำของมะเขือเทศ โรคใบปื้นเหลืองและโรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนสของมะม่วงและพริกทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่าของพืชผักสลัดและผักกินใบต่างๆที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (ระบบไฮโดรโพนิกส์) และสามารถแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อนใช้หว่านลงในนาข้าว ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ ของข้าวที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด ตลอดจนช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักเมล็ด และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ด้วย
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด สามารถใช้ได้หลายวิธีตามโอกาสและความสะดวกของเกษตรกร เช่น ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ในสัดส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนักสำหรับใส่หลุมปลูก อัตรา 10-20 กรัม (1-2 ช้อนแกง) คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ก่อนการหยอดเมล็ดพืช หรือหว่านลงแปลงปลูก ด้วยอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้ผสมรวมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าโดย ใส่ส่วนผสมของเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ ผสมร่วมกับดินหรือวัสดุปลูกอัตรา 1: 4 โดยปริมาตร (20%) นำดินหรือวัสดุปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุงหรือกระถางปลูกพืช กรณีของการคลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก สามารถใช้เชื้อสดล้วนๆ อัตรา 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี และถ้าต้องการเชื้อสดในรูปน้ำสามารถใช้เชื้อสดผสมน้ำในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ จะได้เชื้อชนิดน้ำสำหรับใช้พ่น ราด รดลงดิน หรือพ่นส่วนบนของต้นพืช หรือใช้ปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช และใช้แช่ส่วนขยายพันธุ์พืช เช่นเมล็ด หัว เหง้า แง่ง ท่อนพันธุ์ ก็ได้
สร้างทางเลือก
หลังจากการฟื้นฟูสภาพของพื้นที่หลังน้ำลดแล้ว นอกจากการบำรุงรักษาไม้ผลให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์อีกครั้งในกรณีที่ยังสามารถฟื้นฟูได้แล้ว กรณีที่เสียหายสิ้นเชิงจะต้องวางแผนการผลิตใหม่ทั้งหมด สามารถทำได้ โดยการปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา หลังจากที่ดินเริ่มแห้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยในตัว และลดการรบกวนดิน ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง คือ การปลูกแบบไม่ไถพรวน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังเปียกชื้นอยู่ และหากยังจะปลูกไม้ผลต่อไป เป็นโอกาสดีที่จะจัดการสวนใหม่ ทั้งวิธีการปลูก และชนิดของไม้ผล ซึ่งสามารถทำได้ ด้วยการปลูกไม้ผลที่ให้ผลผลิตเร็ว เพื่อให้ตอบแทนระยะสั้น ควบคู่ไปกับไม้ผลที่ให้มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนาน ซึ่งเป็นการวางแผนในระยะยาวของเกษตรกรแต่ละราย
สำหรับพื้นที่นา หากข้าวที่ปลูกได้รับความเสียหายเล็กน้อยและอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ให้ระบายน้ำออก ควบคุมระดับน้ำให้เหลือประมาณ 5-10 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยให้ข้าวตามอัตราที่กำหนด เมื่อข้าวอายุ 50 วัน และ 60 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว กรณีข้าวที่ปลูกได้รับความเสียหายมาก ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ระบายน้ำออก ปล่อยให้ดินแห้ง ไถกลบตอซังข้าว เตรียมดินปลูกพืชอายุสั้น เช่น ผักอายุสั้นต่างๆ ได้แก่ ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ข้าวโพดอ่อน ผักบุ้งจีน เป็นต้น ปล่อยดินแห้ง สามารถไถเตรียมดินได้ ไถกลบตอซังใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก 2 ตัน ต่อไร่ คลุกเคล้ากับดิน ตากดินประมาณ 14 วัน คลุกปูนขาว เตรียมดินละเอียด ยกแปลงกว้าง 4-5 เมตร และทำร่องน้ำ กว้าง 50 เซนติเมตร ปรับหน้าแปลงให้เรียบ ปลูกผักชนิดต่างๆ ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำเฉพาะพืช โดยการเพะเมล็ดผักของแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป สำหรับผักบุ้งซึ่งเป็นผักที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ภาย 20-25 วัน ให้นำเมล็ดแช่น้ำไว้ประมาณ 6-12 ชั่วโมง แล้วคัดเอาเฉพาะเมล็ดที่จมไปเพาะ ใช้เวลางอกประมาณ 5-14 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอก อยู่ที่ 18-25 องศาเซลเซียล หากเป็นผักชี ให้นำเมล็ดมาห่อด้วยกระดาษหรือผ้า แล้วใช้ท่อพีวีซีคลึงให้เมล็ดแตกเป็น 2 ซีก แล้วนำไปแช่น้ำอุ่นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือจนกว่าเมล็ดจะจม แล้วนำไปเพาะตามปกติ จะทำให้ผักชีงอกเร็วขึ้น ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน อายุเก็บเกี่ยวของผักชีไทยประมาณ 40-50 วัน ผักชีลาว ประมาณ 55-60 วัน และผักชีฝรั่ง ประมาณ 100-120 วัน ส่วนพืชตระกูลแตงและกลุ่มพริก ให้นำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่นประมาณ 40-50 องศาเซลเซียล โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง นำเมล็ดที่จมมาเพาะในกล่องพลาสติกถนอมอาหาร โดยวางรองด้วยกระดาษชำระ พรมน้ำให้ชุ่ม ปิดฝาให้สนิท นำไปตากแดดในช่วงเช้าประมาณ 2-3 ชั่วโมง จะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น ใช้เวลาในการงอก 4-7 วัน
กรณีปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ ปล่อยดินแห้งแล้วเข้าเตรียมดินโดยไถดะ ไถแปร หรือคราด นำเมล็ดถั่วคลุกเชื้อไรโซเบียมก่อนนำไปปลูก โดยถั่วพร้า ปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 5-8 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม หลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะระหว่างต้น 50-75 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุ 2-3 สัปดาห์ ถอนแยกเหลือหลุมละ 1-2 ต้น พรวนดินกลบโคนต้น ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 3-9-6 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 120-150 วัน ตากเมล็ดไว้ 4-5 วัน นวดเก็บให้มิดชิด เก็บรักษาได้นาน 1-2 ปี สำหรับปอเทือง ปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด ระยะระหว่างต้น 50-75 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุ 2-3 สัปดาห์ ถอนแยกเหลือหลุมละ 1-2 ต้น พรวนดินกลบโคนต้น ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 3-9-6 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 120-150 วัน ตากเมล็ดไว้ 4-5 วัน นวดเก็บให้มิดชิด เก็บรักษาได้นาน 1-2 ปี
นอกจากนี้ กิจกรรมทางการเกษตรที่น่าสนใจ และให้ผลตอบแทนเร็วอีกกิจกรรมหนึ่ง คือ การเพาะเห็ด โดยเฉพาะเห็ดฟาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสูงมากนัก ใช้เวลาประมาณ 7-9 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ เห็ดฟาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Volvariella volvacea เป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย และเรียกชื่อแตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ก็ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่มักเป็นเห็ดสด แต่ก็สามารถพบรูปแบบการบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย
ลักษณะดอกของเห็ดฟาง เมื่อยังอ่อนจะเป็นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน และเมื่อเจริญขึ้นจะปริแตกคงเหลือเยื่อหุ้มรูปถ้วยอยู่ที่โคน ผิวนอกของเยื่อหุ้มส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ หมวกเห็ดรูปไข่ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านยาว 4–10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 เซนติเมตร ผิวสีขาวนวลมีขนสีขาว เนื้อเป็นเส้นหยาบสีขาวรวมกันแน่น ตรงกลางก้านกลวง สปอร์รูปรี สีชมพู ขนาด 5–6 × 7–9 ไมโครเมตร ผิวเรียบ เห็ดฟางตามธรรมชาติเจริญเติบโตบนกองฟางข้าวเป็นกลุ่ม 2–6 ดอก และจะถูกเก็บเกี่ยวในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ คือยังเป็นตุ่มกลม ๆ ก่อนที่หมวกเห็ดจะผุดออกมา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4–5 วัน เจริญได้ผลดีที่สุดในภูมิอากาศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก เห็ดชนิดนี้ไม่เคยปรากฏประวัติการเพาะปลูกมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19
ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมเนื่องจากไม่เปลืองพื้นที่ การจัดการง่าย และให้ผลผลิตสูง วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก ประกอบด้วย เชื้อเห็ดฟาง ต้องเป็นเชื้อที่เส้นใยเริ่มเดินใหม่ๆ สังเกตจากเส้นใยที่เดินจากบนลงล่างจนถึงก้นถุง ยังไม่มีดอกเห็ด ไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟางแห้ง หญ้าแห้งที่มีเนื้อแน่น เช่น หญ้าขน หรือ หญ้าแฝก ต้นปรือตากแห้ง ต้นเตยตากแห้ง ต้นกล้วยตากแห้ง เปลือกถั่วเขียว ต่อมาคือ อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสดหรือแห้ง ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น อาหารกระตุ้นเชื้อเห็ด เช่น แป้งสาลี หรือ แป้งข้าวเหนียว โครงครอบตะกร้า ลักษณะโค้งลง และพลาสติกใสคลุมเพื่อรักษาความชื้นและอุณหภูมิ โดยโครงที่ครอบควรห่างจากขอบตะกร้าด้านข้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร และด้านบนประมาณ 30 เซนติเมตร สำหรับน้ำที่ใช้เพาะเห็ดฟางควรเป็นน้ำสะอาด หากใช้น้ำประปาต้องปล่อยให้คลอรีนระเหยออกไปอย่างน้อย 1 วัน
สำหรับพื้นที่ที่ใช้เพาะเห็ดฟางในตะกร้า ควรปราศจากมด และแมลงต่างๆ โดยอาจพลิกดินตากแห้ง และใช้ปูนขาวโรย ปรับพื้นที่ให้เหมาะกับการวางตะกร้า พื้นซีเมนต์ก็สามารถใช้ได้ แต่พื้นดินมีความเหมาะสมมากกว่าเพราะสามารถเก็บความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้สม่ำเสมอได้ดีกว่า จุดวางตะกร้าเพาะเห็ดสามารถวางไว้กลางแจ้ง หรือ ใต้ร่มไม้ก็ได้ แต่ควรมีการป้องกันลมแรงและสัตว์เลี้ยง
วิธีการเพาะเห็ดในตะกร้า ตะกร้าที่ใช้ควรเป็นตะกร้าที่มีขนาดความกว้างของช่องตั้งแต่ ๑ นิ้วขึ้นไป เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว ความสูงประมาณ 11 นิ้ว ส่วนด้านล่างตะกร้าต้องมีช่องระบายน้ำ ถ้าไม่มีต้องเจาะ อย่างน้อย ๕ รู เพื่อช่วยระบายน้ำ หากเป็นตะกร้าที่เคยใช้เพาะเห็ดมาแล้ว ต้องตากแดดฆ่าเชื้อโรคก่อน หากแดดจัดๆ ตากเพียงด้านละ ๑ ชั่วโมงก็เพียงพอ เมื่อตะกร้าพร้อมแล้วให้ใส่วัสดุเพาะที่เตรียมไว้ (ฟาง หญ้าแห้ง ต้นเตย ต้นปรือ ต้นกล้วยตากแห้ง ฯลฯ) ลงไปในตะกร้าความสูงประมาณ ๒-๓ นิ้ว หรือ ราว ๒ ช่องของตะกร้า กดให้แน่นและสม่ำเสมอ หากกดไม่แน่นพอเห็ดจะออกดอกน้อย เพราะเส้นใยเดินเชื่อมถึงกันลำบาก และฟางจะสูญเสียความชื้นได้ง่าย ในทางกลับกัน ถ้ากดแน่นเกินไป ออกซิเจนไม่เพียงพอ เส้นใยเจริญเติบโตไม่ดี ออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก หลังจากนั้นให้โรยอาหารเสริม ให้ชิดขอบตะกร้า หนาประมาณ 1 นิ้ว ถ้าใช้ผักตบชวาสด ให้ใช้อัตรา ๑ ลิตร ต่อ ๑ ชั้น แต่ถ้าเป็นอาหารเสริมชนิดอื่นให้ปรับสัดส่วนลงมาน้อยกว่าผักตบชวา โดยถ้าเป็นมูลสัตว์ใช้ในอัตราประมาณ ๑ ลิตร ต่อ การเพาะเห็ดฟาง ๑ ตะกร้า หลักการที่สำคัญคือ หากใส่อาหารเสริมมากเกินไป ดอกเห็ดจะเน่าเสียได้ แต่ถ้าใส่น้อยเกิดไป ผลผลิตจะลดลง แต่ไม่มีการเน่าเสีย จากนั้นนำหัวเชื้อเห็ดฟาง ถ้าเป็นชนิดถุงปอนด์ ให้ใช้ในอัตราส่วน ๑ ถุง ต่อ ๒ ตะกร้า ก่อนที่จะใช้ ให้นำหัวเชื้อเห็ดออกมาจากถุง ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ลงในภาชนะ จากนั้นโรยด้วยอาหารกระตุ้นหัวเชื้อเห็ดฟาง (แป้งสาลีหรือแป้งข้าวเหนียว) ประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ เติมน้ำสะอาดลงไปเล็กน้อย คลุกให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเท่ากัน เพื่อใช้สำหรับการเพาะ ๒ ตะกร้า โดยแต่ละส่วน แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนย่อย เนื่องจากแต่ละตะกร้าทำเป็น ๓ ชั้น นำหัวเชื้อเห็ดที่ผสมแล้ว ส่วนย่อยที่ ๑ หยิบเป็นก้อนขนาดประมาณหัวนิ้วมือ วางกดลงเป็นจุดๆ บนอาหารเสริมในบริเวณช่องตะกร้าที่จะให้เกิดดอก ช่องตะกร้าที่ ๒ ทุกช่องจากด้านล่างของตะกร้า ส่วนที่เหลือให้ใส่เป็นจุดๆ บนอาหารเสริม จากนั้นในทำชั้นต่อไปด้วยวิธีการเดียวกัน ความสูงของวัสดุเพาะ จะอยู่ประมาณช่องที่ ๔ ของตะกร้า โดยใช้หัวเชื้อเห็ดที่ผสมแล้ว ส่วนย่อยที่ ๒ ส่วนชั้นสุดท้าย หรือ ชั้นที่ ๓ ก็ทำแบบเดียวกัน แต่การโรยอาหารเสริมให้โรยเต็มพื้นที่ เกลี่ยให้ทั่ว สูงประมาณ ๑ นิ้ว จากนั้นนำหัวเชื้อเห็ดที่ผสมแล้ว ส่วนย่อยที่ ๓ วางตามแบบชั้นที่ ๑ หลังจากนั้น จึงนำวัสดุเพาะมาโรยทับด้านบนอีกทีจนทั่ว ซึ่งจะเหลือความสูงจากปากตะกร้าอีกราว ๓-๔ นิ้ว เมื่อสิ้นสุดการจัดชั้นทั้ง ๓ ชั้น ให้รดน้ำให้ชุ่ม ใช้น้ำประมาณ ๒ ลิตร ต่อ ๑ ตะกร้า หลังจากนั้น ให้นำตะกร้าไว้วาง โดยหนุนให้สูงจากพื้น ๔-๖ นิ้ว เพื่อให้ตะกร้าสัมผัสพื้นโดยตรง สามารถวางตะกร้าเรียงซ้อนทแยงกันได้ แต่ไม่ควรเกิน ๔ ชั้น วางโครงครอบตะกร้าตามระยะห่างที่กำหนด แล้วครอบด้วยพลาสติกใส เพื่อรักษาความชื้นและอุณหภูมิให้พอเหมาะ และใช้วัสดุพรางแสงหากแสงแดดจ้าเกินไป
ในช่วง ๑-๔ วันแรก เป็นช่วงเป็นเส้นใย เห็ดเริ่มใช้อาหารในการเจริญเติบโต การคายคาร์บอนไดออกไซด์ยังไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องมีการระบายคาร์บอนไดออกไซด์ แต่พอเข้าวันที่ ๔ ต้องเริ่มเปิดพลาสติกคลุมด้านล่างเพื่อระบายก๊าซออก ในช่วงเช้าและเย็น ครั้งละประมาณ ๑๕ นาที จนกว่าจะเลิกเก็บผลผลิต อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเห็ด อยู่ประมาณ ๓๘ องศาเซลเซียล ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านั้นให้เปิดวัสดุคลุมด้านบนออกให้เป็นช่องขนาดประมาณ ๓ นิ้ว เพื่อช่วยระบายอากาศออกไปช้าๆ โดยอากาศร้อนมักลอยอยู่ด้านบน จะได้ระบายออกไปได้ แต่ถ้าหากเปิดช่องระบายอากาศกว้างเกินไปจะกระทบต่อการเจริญเติบโตของเห็ด เนื่องจากการลดต่ำลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงตามต้องการก็คลุมพลาสติกไว้ตามปกติ หรือใช้วิธีการคลุมด้วยวัสดุพรางแสงเพิ่มก็ได้ หากไม่สามารถเปิดช่องระบายอากาศ เมื่ออุณหภูมิสูงได้ กรณีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้สังเกตจากปริมาณหยอดน้ำที่คิดอยู่ที่วัสดุคลุม โดยเมื่อคลุมวัสดุครั้งแรก ประมาณ ๓๐ นาที จะเริ่มมีหยดน้ำเกาะที่พลาสติกด้านใน ในช่วงแรกที่เป็นเส้นใยความชื้นสัมพัทธ์ต้องอยู่ในระดับดังกล่าว คือ ความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ ๘๕% กรณีที่มีความชื้นมากเกินไป เช่น หลังฝนตกหนัก ให้เปิดวัสดุคลุมด้านล่างออกเล็กน้อย เช่นเดียวกับการระบายก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ นาที จึงคลุมไว้ดังเดิม
สำหรับการเปิดวัสดุคลุมเพื่อกระตุ้นเส้นใยเห็ดฟาง สามารถทำได้เมื่อเส้นใยเจริญเติบโตเต็มวัสดุเพาะ ประมาณช่วงเย็นของวันที่ ๔ หลังจากการเพาะในฤดูหนาว หรือ วันที่ ๕-๖ สำหรับการเพาะในฤดูร้อน เป็นการกระตุ้นให้เส้นใยเปลี่ยนเป็นดอกเห็ด ด้วยการเปิดวัสดุพรางแสงออก และเปิดพลาสติกคลุมออกทั้งหมดในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่อุณหภูมิต่ำ เป็นเวลา ๓๐ นาที ห้ามเปิดในช่วงกลางวัน เพราะเส้นใยจะฝ่อไม่สามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้ หลังเปิดวันต่อมา เส้นใยจะรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดขนาดเล็ก คล้ายเม็ดผงซักฟอก กระจายบนวัสดุเพาะ ช่วงวันที่ ๕ เป็นต้นไปจะเป็นช่วงที่พัฒนาเป็นดอกเห็ด จะต้องเปิดพลาสติกคลุมด้านล่างในช่วงเช้าและเย็น นานประมาณช่วงละ ๑๕ นาที เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รักษาอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ ๓๔ องศาเซลเซียล ให้สังเกตความชื้นในกระโจมพลาสติกที่คลุม โดยนำบิดฟางดูถ้าแห้งไม่มีน้ำซึมออกมาแสดงว่าแห้งเกินไป ให้รดน้ำรอบๆ พลาสติกที่คลุม และปล่อยให้น้ำซึมผ่าน ระวังไม่ให้น้ำหยดใส่วัสดุเพาะโดยตรง เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฟ่อ หากความชื้นสูงเกินไป การระบายอากาศไม่ดี เส้นใยจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้
ในช่วงวันที่ ๗ จะเป็นช่วงที่ดอกเห็ดเจริญเติบโตพร้อมเก็บ โดยลักษณะดอกเห็ดที่ตลาดต้องการต้องเป็นดอกตูม ด้านโคนเห็ดกว้างด้านหมวกเห็ด อย่างไรก็ตาม หากเพาะรับประทานเอง สามารถเก็บเห็ดที่ระยะขนาดความกว้าของโคนกับหมวกเห็ดเท่ากันก็ได้ สำหรับการเลือกดอกเห็ดที่ออกเป็นกลุ่มขึ้นเป็นกระจุก ทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็กมากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโต หรือให้ดอกส่วนใหญ่ในกลุ่มมีขนาดตามต้องการ ใช้มีดที่มีคมหรือคัตเตอร์ ตัดออกจากวัสดุเพาะได้เลย หลังจากนั้นสามารถเก็บเห็ดได้ต่อไปอีกประมาณ ๑ สัปดาห์ ผลผลิตเห็ดรวม ๑ ตะกร้า ประมาณ ๘-๑๐ กิโลกรัม ขึ้นกับวัสดุเพาะและการดูแล
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยในครั้งนี้ นอกจากได้เห็นน้ำใจของคนไทยด้วยกันแล้ว ยังได้เห็นหัวใจนักสู้ของชาวใต้ เกษตรกรรายหนึ่งเล่าให้ฟังอย่างขำๆ ว่ามันก็เป็นอย่างนี้ทุกปี เสียแต่ว่าปีนี้มาหลายรอบหน่อย เหตุการณ์ครั้งนี้ยังทำให้หลายฝ่ายได้ทบทวนแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งเกษตรกรเองจะได้ทบทวนระบบการผลิตของตนเองว่า ควรจะพัฒนาไปแนวทางใด จึงจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง เพราะแต่ละรายก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ขอเพียงให้มั่นใจได้ว่าภาควิชาการยังคงพร้อมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรของเกษตรกรในทุกๆด้าน
การพึ่งพาตนเองได้ ยืนบนขาของตนเอง คือ ความภาคภูมิใจในอาชีพการเกษตร ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน
(ขอบคุณ: สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร/ ข้อมูล)
หมายเหตุ : ต้นฉบับคอลัมน์ ฉีกซอง ในจดหมายข่าวผลิใบ ก้าวใหม่งานวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น