วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี : ความหวัง - ความจริง


“… การจะเป็นเสือนั่นไม่สำคัญ สำคัญที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้าน หรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย จริง อาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตได้ให้พอเพียง...
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันพฤหัสบดีที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

          เดือนธันวาคมของทุกปี โดยปกติจะเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลอง และเดือนแห่งการรอคอยของหลายๆ คน แต่สำหรับปีนี้กลับเป็นเดือนแห่งความเศร้าหมอง บรรยากาศโดยรอบยังมองดูหม่นๆ ประชาชนคนไทยยังไม่สามารถทำใจรับได้กับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ การเสด็จสวรรคตขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ที่ทรงเป็นศูนย์รวมใจของไทยทั้งชาติ ความเสียใจอาดูรในครั้งนี้ เป็นพลังให้กับประชาชนคนไทยหลายๆคน ได้หันกลับมาทบทวนการดำเนินชีวิตและการกระทำของตนเองว่าสอดคล้องกับแนวทางที่พระองค์ได้ทรงกระทำให้เป็นแบบอย่างตลอดพระชนมายุหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          จากพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อปี ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติต้มยำกุ้ง คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (๒๕๔๕-๒๕๔๙) ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ (๒๕๔๐ – ๒๕๔๔) ที่เน้น “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา”  โดยยึดแนวทางสายกลาง ให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤติ แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๙ จึงมุ่งเน้นฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ มีภูมิคุ้มกัน วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ แก้ปัญหาความยากจน เพื่อศักยภาพและโอกาสในการพึ่งพาตนเอง ต่อเนื่องมายังแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จนกระทั่งถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
            หลังจากที่รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี หน่วยงานต่างๆ ต้องมากำหนดยุทศาสตร์ของตนเองให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ สำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เองก็เช่นกัน ได้จัดทำยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ ) โดยมีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ยุทธศาสตร์ในครั้งนี้เป็นการวางรากฐานการพัฒนาในระยะยาว เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาอย่างอย่างเป็นระบบ โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ แผนปฏิรูปของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “ฉีกซอง” ฉบับนี้ จึงขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ ๒๐ ปี  โปรดติดตาม



ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี – ความจริง
          ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับคำว่า“ยุทธศาสตร์” และ “กลยุทธ” กันเสียก่อน สองคำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการวางแผนงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งในภาคราชการและภาคธุรกิจ ทั้งที่เดิมคำดังกล่าวถูกใช้ในวงการทหารเท่านั้น จนบางทีรู้สึกไปเองว่ามันฟุ่มเฟือยจนเกินไปหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะทำอะไร ต้องถามก่อนว่ากำหนดยุทธศาสตร์ไว้แล้วหรือยัง มีกลยุทธการดำเนินงานอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่สนุกสนานกันดี  
          คำว่า “ยุทธศาสตร์” มาจากภาษาอังกฤษว่า “strategy ซึ่งมีความหมายใกล้ชิดกับ “ยุทธวิธี” ที่มาจากคำว่า “tactics” โดยความหมายแล้ว strategy จะใช้ในรูปเอกพจน์ ส่วน tactics จะใช้ในรูปพหูพจน์นอกจาก ยุทธศาสตร์ กับ ยุทธวิธี ซึ่งใช้คู่กันมาแต่เดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการทหารอาจใช้คำว่า กลยุทธ์ แทน ยุทธศาสตร์ และใช้คำว่า กลวิธี แทน ยุทธวิธี ก็ได้ ทั้ง ๔ คำนี้เป็นศัพท์รัฐศาสตร์ของราชบัณฑิตยสถาน และยังมีใช้ในทางธุรกิจและในภาษาทั่วไปอีกด้วย โดยทั่วไปมักจะให้ความหมาย strategy ว่า ศาสตร์และศิลป์แห่งการวางแผนและปฏิบัติการในสงครามส่วนคำว่า tactics หมายถึง วิธีการจัดกระบวนทัพเพื่อให้ได้ชัยชนะในการสู้รบหรือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะหน้าเฉพาะอย่าง และเมื่อพิจารณารากศัพท์ของ strategy พบว่ามาจากภาษากรีก คือ strategos ซึ่งหมายถึงแม่ทัพโดย strategos  มาจากคำว่า stratos “กองทัพรวมกับคำว่า agein “นำส่วน tactics มาจากภาษากรีกเช่นกัน คือ tactikos ซึ่งหมายถึงเกี่ยวกับการจัดจากรากศัพท์ว่า tassein “จัด” (ที่มาของความหมายว่า การจัดกระบวนทัพ”) จึงเห็นได้ชัดว่าคำคู่นี้เริ่มใช้ในความหมายเกี่ยวกับการทหารก่อนที่จะถูกนำมาขยายใช้ในวงการอื่น ๆ ตามที่กล่าวมา ดังนั้น คำว่า “ยุทธศาสตร์” คือ สะพานเชื่อมโยง (หรือการอุดช่องว่าง) ระหว่างนโยบาย (policy) กับกลยุทธ์ (tactics) และทั้งยุทธศาสตร์ (strategy) และกลยุทธ์ (tactics) เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างจุดหมายปลายทาง (ends) กับวิถีทาง (means) ที่ใช้เพื่อบรรลุจุดหมายปลายทาง (เขียนตามการให้ความหมายของ Nickols) 
          การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ระยะเวลา ๒๐ ปี เกิดจากคณะรัฐมนตรีไดมีมติเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ เห็นชอบใหจัดตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติ มีอํานาจหนาที่ในการจัดทํารางยุทธศาสตรชาติระยะ ๒๐ ปเพื่อใชในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสูความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และใหเสนอรางยุทธศาสตรชาติระยะ ๒๐ ปใหคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหความเห็นชอบเพื่อใชเปนกรอบในการดําเนินงานในระยะที่ ๒ ของรัฐบาล (ป๒๕๕๘ - ๒๕๕๙) และกรอบการปฏิรูปในระยะที่ ๓ (ป๒๕๖๐เปนตนไป)
            แนวคิดในการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว พิจารณาจากทศวรรษที่ผ่านมากระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเปนไปอยางรวดเร็วและหลายมิติ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน มีทั้งการสร้างโอกาสใหม่ๆ ประเด็นความเสี่ยงและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น อีกทั้งกระแสทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบตอโครงสรางเศรษฐกิจของไทย จากเศรษฐกิจในระบบ เกษตรแบบพึ่งตนเอง เปลี่ยนไปเป็นระบบเศรษฐกิจที่ พึ่งพาอุตสาหกรรมและการสงออกในขณะที่การพัฒนาในภาคเกษตรล้าหลังกว่าฐานการผลิตอื่นที่อาศัยเทคโนโลยีสมัยใหมมากขึ้น จึงส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำด้านรายไดระหวางภาคการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม และระหวางสังคมเมืองกับสังคมชนบท ให้มีระยะห่างกันมากขึ้น ปญหามีกระจุก จนกระจาย และการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศนของโลก ทําให้เกิดภัยคุกคามดานอื่นๆ ที่ซับซอนมากขึ้น เช่น การกอการราย โรคอุบัติใหม่ เครือขายยาเสพติดและอาชกรขามชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่รุนแรงขึ้น การเคลื่อนยายอยางเสรีของผูคน สินคาและบริการ เงินทุน รวมทั้งองคความรูและเทคโนโลยีอยางเสรีภายใตกระแสโลกาภิวัตนเขมขนจะเอื้อใหสามารถประกอบอาชญากรรมในรูปแบบและชองทางใหมๆ ที่แยบยลมากขึ้น  จากสถานการณและแนวโนมดังกลาว ประเทศไทยจำตองเตรียมความพรอมพัฒนาระบบการเตือนภัยและการบริหารความเสี่ยงที่ดี ให้ประชาชนมีความรู สามารถใชวิจารณญาณไดดีในสถานการณที่มีความล่อแหลมและมีความเสี่ยงได้
             ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ ) กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”  โดยด้านความมั่งคง กำหนดให้มีความมั่นคงปลอดภัย จากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศทุกระดับ ทุกมิติทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย โดยมีสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ที่เข้มแข็ง เป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกนำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่อง โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและสามัคคี ผนึกกำลังในการพัฒนาประเทศ ชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีที่อยู่อาศัยและมีความปลอดภัยในทรัพย์สิน รวมทั้งมีฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมั่นคง
            ด้านความมั่นคั่ง ประเทศไทยต้องมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาเข้าสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาลดลง ประชาชนได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน เศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต เป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เกิดสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีพลัง
             สำหรับด้านความยั่งยืน มุ่งให้เกิดการพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอดี ไม่สร้างมลพิษจนเกินขีดความสามารถของระบบนิเวศน์ที่จะรองรับได้ การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับกฎระเบียบของประชาคมโลก ความอุดมสมบูรณ์สมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพของสิ่งแวดล้อมดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร และเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม มุ่งให้เกดประโยชน์ส่วนรวมที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อให้การพัฒนาทุกระดับมีความสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน และทุกภาคส่วนต้องยึดมั่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
             ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคน ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทางสังคม ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยในแต่ละยุทธศาสตร์จะกำหนดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน ท่านผู้อ่านสามารถไปติดตามอ่านได้ตามสื่อออนไลน์ต่างๆ

ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒๐ ปี – ความหวัง
          การวิเคราะห์ของผู้รับผิดชอบในการจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) มองปัญหาและความท้าทายไว้ทั้งหมด ๕ ประเด็น  โดยประเด็นแรกมีความเห็นว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและจำเป็น มีหนี้สินและไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน การรวมกลุ่มไม่เข้มแข็ง ขาดอำนาจในการต่อรอง และกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนรุ่นใหม่เข้ามาในอาชีพเกษตรน้อยลง ประเด็นต่อมา คือ ประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรอยู่ในระดับต่ำ มีการใช้ปัจจัยการผลิตไม่เหมาะสม การแข่งขันและการกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น ในลักษณะของการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ ๓ คือ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ ในภาคการเกษตรมีจำกัด ฐานข้อมูลทางการเกษตรที่ทันสมัย ยังไม่ครบทุกมิติ ประเด็นที่ ๔ คือ การทำการเกษตรที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการจัดระบบการปลูกพืชที่ไม่เหมาะสมกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การบุกรุกพื้นที่ต้นน้ำเพื่อทำการเกษตร ปัญหาของภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ประเด็นสุดท้าย คือ ประเด็นด้านนโยบายของภาครัฐ ที่เป็นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้วางรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน ขาดความต่อเนื่องของการพัฒนา และไม่มีการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน
          จากสภาพปัญหาและความท้าทายดังกล่าว จึงกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” โดยมีเป้าประสงค์ให้เกษตรกรหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางในปี ๒๕๗๙ นั่นหมายความว่า ในปี ๒๕๗๙ เกษตรกรจะต้องมีรายได้ประชาชาติต่อหัวมากกว่า ๑๓,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ หรือราว ๓๙๐,๐๐๐๐ บาท/คน/ปี การจะบรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว ต้องประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบแห่งความ SMART ได้แก่ เกษตรกรมีความสามารถในอาชีพของตนเอง (Smart farmers) สถาบันเกษตรกรมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Smart agricultural groups) สินค้าเกษตรมีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด (Smart agricultural products) และพื้นที่การเกษตร/ภาคการเกษตรมีศักยภาพ (Smart area/agriculture) ซึ่งยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒๐ ปี ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้รวม ๕ ด้าน คือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการยกระดับมาตรฐานสินค้า การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
          สำหรับยุทธศาสตร์ที่ ๑ สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ ๓ ด้าน ได้แก่ สร้างความเข้มแข็งให้เป็น Smart : Farmer Group Enterprise  เสริมสร้างความภาคภูมิใจและความมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตร และการบริหารจัดการแรงงานภาคเกษตรและเทคโนโลยีเพื่อทดแทนแรงงานอย่างเป็นระบบรองรับสังคมเกษตรสูงอายุ โดยกำหนดตัวชี้วัดในยุทธศาสตร์นี้ไว้ ๕ ตัว คือ ดัชนีความผาสุกของเกษตรกร (สิ้นสุดแผนต้องอยู่ในระดับร้อยละ ๙๕) รายได้เงินสดต่อหัวเกษตรกร (สิ้นสุดแผนต้องได้ ๓๙๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี)  ร้อยละของเกษตรกรที่เป็น Smart farmer โดยอายุระหว่าง ๑๘-๖๔ ปี ต้องเป็นSmart Farmer ทุกคนเหมือนสิ้นแผน ร้อยละของสถาบันเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง โดยแยกเป็น ๒ ลักษณะ คือ สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน เมื่อสิ้นแผนสหกรณ์ร้อยละ ๙๕ ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และวิสาหกิจชุมชน ร้อยละ ๔๐ ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเมื่อสิ้นแผนเช่นกัน ตัวชี้วัดตัวสุดท้ายของยุทธศาสตร์นี้ คือ จำนวนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร โดยเมื่อสิ้นแผน จำนวนสมาชิกสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ต้องไม่ต่ำกว่า ๘.๑ ล้านคน และจำนวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชนด้านการเกษตร ไม่ต่ำกว่า ๖ แสนราย หรือ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ กลุ่ม
          ยุทธศาสตร์ที่ ๒ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกมาตรฐานสินค้า กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ ๒ แนวทาง คือ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพมาตรฐานสินค้าสู่มาตรฐานระดับสากล โดยใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและความรู้แบบองค์รวม และส่งเสริมการเกษตรตลอดโซ่อุปทานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมูลค่าสูง มุ่งสู่การเป็นฟาร์มอัจฉริยะ ตัวชี้วัดประกอบด้วย GDP ภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น ณ ปีที่สิ้นแผน อยู่ที่ร้อยละ ๓ อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ณ ปีที่สิ้นแผน อยู่ที่ร้อยละ ๓.๕ ร้อนละของจำนวนฟาร์ม โรงงาน สถานประกอบการที่อยู่ในกำกับของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผ่านการรับรองมาตรฐาน ร้อยละ ๑๐๐ ในปีที่สิ้นแผน จำนวนแปลงใหญ่ ณ ปีที่สิ้นแผนไม่ต่ำกว่า ๙๐ ล้านไร่ และจำนวนพื้นที่ที่ทำการเกษตรที่ปรับเปลี่ยนตาม Agri Map ณ ปีที่สิ้นแผนไม่ต่ำกว่า ๖ ล้านไร่
          ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม  กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ ๓ แนวทาง ประกอบด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเกษตร ๔.๐ ภายใต้ Thailand 4.0 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร ให้เกษตรกรเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง และการพัฒนางานวิจัยและสารสนเทศให้ไปสู่เชิงพาณิชย์ ประชาสัมพันธ์และเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลในระดับโลก ซึ่งตัวชี้วัดสำหรับยุทธศาสตร์นี้ ได้แก่ สัดส่วนงบประมาณงานวิจัยต่องบประจำปีของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ในปีที่สิ้นแผน ร้อยละของงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีการพัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ณ ปีที่สิ้นแผน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ และร้อยละเกษตรกรและผู้รับบริการที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ร้อยละ ๑๐๐ ในปีที่สิ้นแผน
          ยุทธศาสตร์ที่ ๔ บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน มีแนวทางการพัฒนา ๒ แนวทาง คือ บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs – Sustainable Development Goals) และฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรให้มีความสมดุลและยั่งยืน ตัวชี้วัด ประกอบด้วย จำนวนพื้นที่การเกษตรได้รับการอนุรักษ์ ปรับปรุงและฟื้นฟู ณ ปีที่สิ้นแผน ๑๒.๕ ล้านไร่ จำนวนพื้นที่ชลประทาน ณ ปีที่สิ้นแผน ๔๓.๐๘ ล้านไร่ จำนวนพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน ณ ปีที่สิ้นแผน ๓.๔๘ ล้านไร่ และจำนวนพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน ณ ปีที่สิ้นแผน จำนวน ๑๐ ล้านไร่
          ยุทธศาสตร์ที่ ๕ พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ ๓ แนวทาง ได้แก่ พัฒนาบุคลากรและนักวิจัยให้เป็น Smart officers / researchers เชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานของหน่วยงานทกภาคส่วน โดยกลไกประชารัฐและปรับระบบการบริหารงานให้ทันสมัย ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านการเกษตรเพื่อรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลง ตัวชี้วัด ประกอบด้วย จำนวนกฎหมายที่ได้รับการยกร่าง/แก้ไข/ปรับปรุง โดยแยกเป็นกฎหมายใหม่ จำนวน ๕ ฉบับ เมื่อสิ้นแผน และกฎหมายที่มีอยู่เดิม จำนวน ๓๗ ฉบับ เมื่อสิ้นแผน รวมทั้งสิ้น ๔๒ ฉบับ จำนวนส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีการปรับปรุงโครงสร้าง ๑๕ ส่วนราชการ ณ ปีที่สิ้นแผน และร้อยละของข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เป็น Smart Officer ร้อยละ ๑๐๐ ณ ปีที่สิ้นแผน
          การกำหนดทิศทางในการเดินหน้าของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน ๒๐ ปีข้างหน้า เป็นการกำหนดที่กระทบโดยตรงกับการพัฒนาการเกษตรของไทย ตัวชี้วัดบางตัวที่กำหนดอาจไม่สามารถวัดความสำเร็จได้อย่างแท้จริง คงต้องศึกษาในรายละเอียดว่ามีเงื่อนไขในการพิจารณาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกณฑ์ของ Smart ต่างๆ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด ในอนาคตข้างหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาอย่างก้าวกระโดด การเชื่อมโยงข้อมูลเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลงานวิจัย ข้อมูลการตลาดได้โดยตรง ความจำเป็นของสะพานเชื่อมต่อระหว่างภาคราชการกับเกษตรกรอาจหมดความสำคัญลงไป เมื่อผู้ผลิตเช่นเกษตรกร สามารถเชื่อมต่อถึงผู้บริโภคและเชื่อมไปยังข้อมูลการผลิตตามมาตรฐานของผู้บริโภคได้ ภาคราชการที่รับผิดชอบงานด้านการเกษตรอาจจะต้องกลับมาทบทวนบทบาทกันใหม่
         ณ จุดนั้น ภาครัฐจะวางตำแหน่งของตนไว้ที่ใด ๒๐ ปีไม่ไกลเลย!

(ขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร/ ข้อมูล)

หมายเหตุ ต้นฉบับคอลัมม์ ฉีกซอง ในจดหมายข่าวผลิใบฯ ก้าวใหม่งานวิจัยการเกษตร ประจำเดือนธันวาคม 2559


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น